mercredi 28 octobre 2009

การเขียนแผนการสอน

ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญครูผู้สอนควรคำนึงถึงหลักสูตร โดยมีการวิเคราะห์หลักสูตรให้ถ่องแท้ถึงจุดหมาย หลักการและเจตนารมณ์ของหลักสูตร โดยผ่านการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชาเพื่อจัดทำหน่วยการเรียนรู้และกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ให้ชัดเจนในแต่ละครั้งที่จัดการเรียนรู้ นอกจากนี้ จะต้องคำนึงถึงผู้เรียน การพัฒนาประสบการณ์ของผู้เรียน บทบาทของผู้เรียน วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน บรรยากาศในการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผลที่สอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้ อีกประการหนึ่งควรคำนึงถึง นโยบาย จุดเน้นของโรงเรียนที่สอดคล้องกับหน่วยงานที่กำหนดในระดับที่เหนือโรงเรียนขึ้นไปด้วย¬องค์ประกอบสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ เป็นผลของการเตรียมการอย่างเป็นรูปธรรมของการแปลงหลักสูตรสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน แผนการจัดการเรียนรู้จึงเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน จะต้องให้ความสำคัญ มีความรู้ความเข้าใจเพื่อให้สามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่มองเห็นภาพรวมและขั้นตอนของการดำเนินการที่ชัดเจน เพราะเป็นร่องรอย หลักฐาน แสดงความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงของครูผู้สอน แผนการจัดการเรียนรู้จึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ที่นำไปสู่การพัฒนาผู้เรียน ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร อาจมีการจัดทำได้หลากหลายรูปแบบ รายละเอียดขึ้นอยู่กับสถานศึกษาหรือความเข้าใจและความต้องการของครูแต่ละคน องค์ประกอบสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ อาจแตกต่างกันไปบ้าง แต่เมื่อพิจารณาในส่วนที่สำคัญ ๆ ทุกสำนักก็มีส่วนคล้ายกันมาก ซึ่งจะนำมากล่าวพอเป็นแนวทางในการพิจารณาตัดสินใจ ดังนี้ทิศนา แขมมณี (ทิศนา แขมมณี และคณะ. 2548 : 16) ได้นำเสนอองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้ คือ สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อและอุปกรณ์ การวัดและประเมินผล บันทึกหลักสอน ซึ่งได้ระบุไว้ 3 ประการ ได้แก่ ผลการเรียน ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไขกาญจนา วัฒานุ (กาญจนา วัฒายุ. 2547 : 86 – 88) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ควรประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ คือ มาตรฐานการเรียนรู้ / ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ กระบวนการวัดและประเมินผล กิจกรรมเสนอแนะและบันทึกหลังสอนสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2546 : 21) ได้กล่าวถึง แผนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ ที่นำไปสู่การพัฒนาผู้เรียน ควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล และการบันทึกผลหลังสอนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู. 2545 : 33) ได้ให้ความหมายของคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างน้อยควรประกอบด้วยจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา สาระการเรียนรู้ กิจกรรม สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล และสรุปผลการสอนสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษา (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2548 : 27 – 27) ได้เสนอตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ก็พบว่ามีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ แนวความคิดหลัก กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล สื่อและแหล่งการเรียนรู้กรมวิชาการ (กรมวิชาการ. 2545 : 121 – 123) ได้นำเสนอตัวอย่างแผนจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง แร่และหิน เมื่อพิจารณาองค์ประกอบสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้พบว่าประกอบด้วย หัวข้อสำคัญ คือ จุดประสงค์การเรียนรู้ แนวความคิดหลัก กระบวนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการวัดและประเมินผล และแหล่งการเรียนรู้จะเห็นได้ว่า การนำเสนอองค์ประกอบสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสำนักที่นำเสนอ มีส่วนที่คล้ายกันและอาจแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ในจุดเน้นบ้างแต่ก็ยังคงความสำคัญในหัวข้อหรือประเด็นที่สำคัญเหมือนกัน แต่ในบางหัวข้อมีความหมายเหมือนกันแต่เขียนไม่เหมือนกัน เช่น สาระสำคัญ และแนวความคิดหลักเป็นต้น ในบางตัวอย่างที่นำเสนอไม่ได้นำเสนอผลการสอน จึงไม่ปรากฏหัวข้อผลหลังสอนให้เห็นแต่ก็ยังมีความสำคัญอยู่ ดังนั้นในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้อาจจัดทำได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการและความเข้าใจของครูผู้สอนแต่ละคน และสามารถเพิ่มเติมหัวข้ออื่นลงไปได้อีกตามความเหมาะสม แต่ก็ไม่ควรจะตัดทอนหัวข้อที่สำคัญลงไป เช่น กิจกรรมการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื่องจากการตัดทอนหัวข้อดังกล่าวแล้วแผนการจัดกาเรียนรู้นั้นจะไม่สมบูรณ์ในสาระสำคัญทันทีไม่สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ได้ จึงขอสรุปองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ควรมี ดังนี้1. มาตรฐานการเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง2. จุดประสงค์การเรียนรู้3. สาระสำคัญหรือแนวคิดหลัก4. สาระการเรียนรู้ / เนื้อหาสาระ5. กิจกรรมการเรียนรู้6. สื่อและแหล่งเรียนรู้7. การวัดและประเมินผล8. การบันทึกผลหลังสอนตามที่กล่าวมาแล้วว่า รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้นั้น มีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับครูผู้สอนจะพิจารณาและวิเคราะห์ถึงจุดเน้นและความจำเป็นที่จะดำเนินการ ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมแต่มีหัวข้อสำคัญหรือองค์ประกอบที่สำคัญปรากฏอยู่เท่านั้นเองในการประยุกต์ใช้ แนวทางในการตัดสินใจเลือกหัวข้อสำคัญ หรือรูปแบบของการจัดการเรียนรู้นั้น ผู้บริหารอาจแนะนำให้ครูผู้สอนแต่ละคนสามารถเพิ่มเติมองค์ประกอบอื่น ๆ ได้อีกตามความจำเป็นและเหมาะสมกับสถานศึกษา หรือข้อตกลงของสถานศึกษา และจะได้ขยายตามทางเป็นแนวทางให้ผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ได้ให้คำแนะนำแก่ครูผู้สอน ดังนี้1. มาตรฐานการเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ในการระบุมาตรฐานการเรียนรู้หรือผลการเรียนที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค ในหัวข้อนี้มีเจตนาเพื่อให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้ในแผนการจัดการเรียนรู้นี้ได้ดำเนินการตรงกับมาตรฐานที่เท่าไร และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในข้อใด ตรงตามหลักสูตรของสถานศึกษาที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ เนื่องจากประสบการณ์ในการนิเทศของผู้เขียน พบว่า ครูผู้สอนจำนวนหนึ่งดำเนินการสอนไม่ตรงกับมาตรฐานและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามหลักสูตรที่สถานศึกษากำหนด ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากไม่ได้วิเคราะห์หลักสูตรก่อนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้หรือครูผู้สอนบางคนได้นำแผนการจัดการเรียนรู้ของผู้อื่นมาใช้สอนโดยไม่วิเคราะห์หรือตรวจสอบหลักสูตรสถานศึกษาของตนเองว่าตรงกันหรือไม่ ทำให้สอนไม่ตรงหลักสูตรเช่นกัน อย่างไรก็ตามถ้าครูผู้สอนได้มีการวิเคราะห์หลักสูตร จัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่ชัดเจน ซึ่งครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังโดยกำหนดเวลา เนื้อหาสาระไว้แล้วและแบ่งเป็นหน่วยย่อย ๆ เพื่อดำเนินการและสามารถตรวจสอบได้ ในหัวข้อนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเขียนอีกก็สามารถทำได้2. การเขียนสาระสำคัญหรือแนวคิดหลักสาระสำคัญหรือแนวคิดหลัก หมายถึง ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหา หลักการ วิธีการที่ต้องการจะให้ผู้เรียนได้รับหลังจากเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ แล้วทั้งในด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการ และเจตคติ วัฒนาพร ระงับทุกข์ (วัฒนาพร ระงับทุกข์. 2543 : 88) ได้ระบุวิธีเขียนสาระสำคัญ ไว้ดังนี้1) พิจารณาจุดประสงค์การเรียนรู้ ว่าต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมหรือความรู้ความสามารถด้านใด2) พิจารณาเนื้อหาว่า เป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องอะไรเรียนรู้แล้วจะได้รับความรู้ความเข้าใจ ความคิดรอบยอดอะไรหรือได้รับประโยชน์คุณค่าใดจากกเรียนเนื้อหานั้น3) นำผลการเรียนพิจารณาจุดประสงค์การเรียนรู้มาประกอบกับการพิจารณาเนื้อหา แล้วเขียนเป็นข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เรียนจะเรียนหรือสิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียน3. การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ในการเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ ครูผู้สอนจะย้อนหลังขึ้นศึกษาหน่วยการเรียนรู้ที่ได้กำหนดเป็นหน่วยย่อย ๆ โดยการวิเคราะห์มาจากมาตรฐานช่วงชั้นผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง แล้วนำมากำหนดเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื่องจากผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เป็นความคาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนในระยะเวลา 1 ปี หรือ 1 ภาคเรียน ดังนั้นในการจัดการเรียนรู้ในแต่ละครั้งไม่อาจจะสรุปได้ว่า จะบรรลุผลการเรียนที่คาดหวังในข้อนั้น ๆ ทันที ผลกาเรียนรู้ที่คาดหวัง หนึ่งผลการเรียนรู้อาจจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลาย ๆ ครั้ง จึงจะบรรลุดังนั้นเพื่อให้เกิดความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละครั้งหรือในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ สามารถกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและกำหนดเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้โดยการพิจารณาคำสำคัญของมาตรฐานการเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังแบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้1) ด้านความรู้ ได้แก่ รู้จัก รู้จำ เข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุป เชื่อมโยง ประเมิน เปรียบเทียบ ตีความ วิจารณ์ เป็นต้น2) ด้านทักษะ ได้แก่ ปฏิบัติ แสดง นำเสนอ ตรวจสอบ ทดลอง สาธิต นำไปใช้ มีส่วนร่วม อภิปราย ประยุกต์ เป็นต้น3) ด้านเจตคติ ได้แก่ ชื่นชม เห็นคุณค่า ภูมิใจ รัก ศรัทธา ซาบซึ้ง หวงแหน นิยม พึงพอใจ เห็นความสำคัญ เห็นประโยชน์ ยอมรับ เป็นต้นในการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ ควรพิจารณาให้ครอบคลุมมาตรฐานและ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านเจตคติ ของการเรียนการสอนแต่ละครั้งจะดีมาก4. สาระการเรียนรู้/เนื้อหาสาระ เป็นส่วนที่ได้รายละเอียดที่เชื่อมโยงกับสาระ สำคัญและสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ประกอบด้วยทฤษฎี หลักการ วิธีการ แนวปฏิบัติ ครูผู้สอนต้องศึกษาหาความรู้จากเอกสาร ตำราเรียน หนังสือคู่มือครูและแหล่งความรู้ต่าง ๆ นำมาพิจารณาใช้ประกอบให้เหมาะสมกับวัยและระดับของผู้เรียนการเขียนเนื้อหาสาระในแผนการจัดการเรียนรู้ ครูจะเขียนเนื้อหารายละเอียดทั้งหมดในแผนการจัดการเรียนรู้ ตามหัวข้อที่กำหนดก็ได้แต่หากมีเนื้อหามากเกินไปควรเขียนเฉพาะหัวข้อเรื่องนั้นไว้ ส่วนรายละเอียดให้นำไปใส่ในภาคผนวกท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ หรือจะแยกไว้อีกเล่มหนึ่งต่างหากเป็นเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ก็ได้ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า สาระการเรียนรู้หรือเนื้อหาสาระนั้นครอบคลุมทั้งองค์ความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ดังนั้น ครูผู้สอนควรตระหนักให้มากมิฉะนั้นแล้วจะมุ่งเน้นไปที่องค์ความรู้เพียงอย่างเดียว จะทำให้ไม่ครอบคลุมตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร5. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ / กระบวนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้หรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ คือ ระบบการเรียนรู้หรือประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้สอนจัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกจากจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแล้วจะต้องคำนึงถึงวิธีการจัดการเรียนรู้ตามธรรมชาติของแต่ละกลุ่มสาระ รวมทั้งทักษะกระบวนการและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วย วัฒนาพร ระงับทุกข์ (วัฒนาพร ระงับทุกข์. 2542 : 91 - 93) ได้กล่าวถึงลักษณะของกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้1) สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหาสาระ2) ฝึกกระบวนการสำคัญให้ผู้เรียน3) เหมาะสมกับธรรมชาติและวัยของผู้เรียน4) เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชีวิตจริง5) เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ6. สื่อและแหล่งเรียนรู้ ในการกำหนดสื่อและแหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เน้นให้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และต้องเอื้อต้อการเรียนรู้ตลอดชีวิต สื่อการเรียน การสอนจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งประการหนึ่งต่อการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นการใช้สื่อใกล้ตัว ที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นสำคัญ และการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญด้วย สื่อจึงหมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ครูผู้สอนนำมาเป็นเครื่องมือช่วยให้ความรู้แก่นักเรียนข้อสังเกตบางประการโดยการใช้สื่อแหล่งเรียนรู้ในการกำหนดในแผนการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับวัย ความสนใจความสามารถของผู้เรียน และความสอดคล้องกับกิจกรรมที่กำหนดไว้ โดยในกิจกรรมนั้นควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมจัดหา เลือกและใช้สื่อที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงผลหรือสะท้อนผลการใช้สื่อเพื่อประโยชน์ในการประเมินผลและพัฒนาสื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น (รายละเอียดเพิ่มเติมศึกษาได้ในคู่มือการนิเทศชุดที่ 5 การใช้สื่อนวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้)7. การวัดผลและประเมินผลเป็นการตรวจสอบว่าผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผนการเรียนรู้หรือไม่ การประเมินใช้วิธีการเครื่องมือและเกณฑ์ที่หลากหลายครอบคลุ่ม ด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งนี้ให้วัดตรงตามสภาพจริงที่เกิดขึ้นด้วยความเที่ยงตรงน่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ในการตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้ เกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผล ควรตรวจสอบประเด็นสำคัญ ได้แก่วิธีการวัดผลเครื่องมือวัดผล เกณฑ์การวัดผลว่ามีความสอดคล้องสัมพันธ์กันหรือไม่ เช่น วิธีการวัด สังเกตความสนใจ ตั้งใจ ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความมีระเบียบในการทำงาน เครื่องมือวัดได้แก่แบบประเมินพฤติกรรมด้านจิตพิสัย วิธีการวัดการปฏิบัติการทดลองเครื่องวัดได้แก่ แบบสังเกตการณ์ปฏิบัติการทดลอง การวัดกระบวนการทำงานกลุ่ม เครื่องมือวัดได้แก่ แบบสำรวจการทำงานกลุ่ม การวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหา เครื่องมือวัดได้แก่ แบบทดสอบ และควรตั้งเกณฑ์การประเมินให้สอดคล้องกับวิธีการและเครื่องมือวัดผลด้วย นอกจากนี้ควรมีเครื่องมือ วิธีการ และเกณฑ์การประเมินจากสภาพจริงด้วย8. การบันทึกผลหลังสอนเป็นการบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ ควรบันทึกดังนี้1. ผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ในแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมี 3 ด้าน คือ ด้านองค์ความรู้ ด้านทักษะกระบวนการ และด้านคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ที่สำคัญก็คือผู้เรียนผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้อย่างไร ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้เท่าไร ร้อยละเท่าไร และที่ไม่ผ่านเกณฑ์คือใคร เลขที่เท่าไหร่ คิดเป็นร้อยละเท่าไร2. ปัญหาอุปสรรค์ ควรบันทึกสาเหตุที่การจัดการเรียนรู้ไม่เป็นไปตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่วางไว้ น่าจะมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง เช่น เรื่องการกำหนดจุดประสงค์มากเกินไป สอนไม่ทัน เนื้อหามากเกินไป เนื้อหาไม่เหมาะสม กิจกรรมสอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน การมีส่วนร่วมในการใช้สื่อไม่ทั่วถึง เวลามีน้อยเกินไป สื่อการจัดการเรียนรู้มีน้อยทำให้เสียเวลา แบบประเมินผลยากเกินไปเกณฑ์และวิธีการวัดไม่เหมาะสม เอกสารประกอบการสอนไม่เพียงพอ นักเรียนไม่มีความพร้อม บรรยากาศไม่ดี เป็นต้น3. ข้อเสนอแนะ บันทึกข้อเสนอแนะในการปรับปรุงตัวผู้เรียนที่ไม่ผ่านและที่ผ่านกิจกรรมตามจุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การวิจัยในชั้นเรียนและการซ่อมเสริมผู้เรียน บันทึกข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ว่าควรปรับปรุงส่วนใด บันทึกข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสื่อนวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ตลอดจนเครื่องมือการวัดและประเมินผล สิ่งสำคัญคือเสนอแนะไปตามสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงการตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้และพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ ในการตรวจสอบและประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ อาจดำเนินการได้ตั้งแต่ก่อนนำไปใช้ ระหว่างการใช้ และเมื่อสิ้นสุดการใช้ สามารถตรวจสอบบทบาทของผู้เรียน บทบาทของครูผู้สอน และตรวจสอบองค์ประกอบต่าง ๆ ของแผนการจัดการเรียนรู้ว่าสอดคล้องสัมพันธ์กันอย่างไร ในการนำเสนอวิธีการและเครื่องมือในการตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สะดวกในการประยุกต์ใช้ และปฏิบัติได้จริงไม่ยุ่งยากจนเกินไป จึงได้ประยุกต์แนวความคิดของวัฒนาพร ระงับทุกข์ (วัฒนาพร ระงับทุกข์. 2542 : 170 – 184) และประยุกต์เครื่องมือการตรวจสอบพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของ ธัญญา บินโหรน (ธัญญา บินโหรน. 2543 : 117 – 119) ซึ่งเป็นบทบาทของผู้เรียนและครูผู้สอน ตามทฤษฎีและหลักการการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รวมทั้งการตรวจสอบและประเมินองค์ประกอบสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ว่ามีความถูกต้องครอบคลุมชัดเจนและสัมพันธ์กันหรือไม่เพียงใด โดยมีแนวการตรวจสอบตั้งแต่ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำคัญหรือแนวคิดหลัก กิจกรรมการเรียนรู้หรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ ตรวจสอบสื่อแหล่งเรียนรู้ ตรวจสอบการวัดผลและประเมินผล ตลอดจนกิจกรรมเสนอแนะ ซึ่งจะได้สรุปประเด็นเป็นตัวอย่างเครื่องมือตรวจสอบ ดังนี้1. การเตรียมการจัดการเรียนรู้1) การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ล่วงหน้าเสมอ2) มีสาระสำคัญหรือแนวคิดหลักถูกต้อง3) มีจุดประสงค์การเรียนการสอนสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง4) มีจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน5) มีกิจกรรมตามขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้6) เขียนกิจกรรมตามขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้7) เตรียมการทั้งเนื้อหาและวิธีการจัดการเรียนรู้2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้1) มีกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน2) มีการทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน3) มีการเลือกวิธีสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาและจุดประสงค์4) มีการเอาใจใส่นักเรียนเป็นรายบุคคล5) มีการแสดงความเมตตาต่อนักเรียนอย่างทั่วถึง6) มีการจัดสภาพการณ์ให้นักเรียนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์7) มีการส่งเสริมให้นักเรียนฝึกคิดฝึกทำและปรับปรุงตนเอง8) มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้9) มีการฝึกให้นักเรียนมีประสบการณ์ตรง สัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม10) มีการให้นักเรียนฝึกปฏิบัติจนค้นพบความถนัดของตนเอง11) มีการเสริมแรงให้ค้นหาคำตอบแก้ปัญหาพึ่งตนเองและช่วยกัน12) มีการให้นักเรียนได้ฝึกค้น รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง13) การให้นักเรียนได้เลือกทำกิจกรรมความสามารพความสนใจ3. การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้1) มีการเตรียมสื่อประกอบการสอนล่วงหน้า2) มีการใช้สื่อที่เร้าความสนใจของผู้เรียน3) ใช้สื่อการสอนเพื่อการฝึกคิด การแก้ปัญหา4) ใช้สื่อการสอนเพื่อการค้นพบความรู้5) สื่อมีความสอดคล้องกับเรื่องที่สอน6) ใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเชื่อมโยงประสบการณ์จริง4. การวัดผลและประเมินผล1) มีการกำหนดวิธีวัดผลและประเมินผลไว้ล่วงหน้าอย่างหลากหลาย2) มีการใช้คำถาม กิจกรรมการตรวจสอบผลการเรียนของนักเรียนเป็นระยะ3) มีเครื่องมือวัดสอดคล้องกับจุดประสงค์และกระบวนการเรียนรู้4) สังเกตประเมินพัฒนาการของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง5) มีการวัดผลตามสภาพจริง6) เกณฑ์การประเมินมีความสอดคล้องกับระดับความสามารถของผู้เรียนข้อเสนอแนะในการประเมินและตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้และพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ ควรตรวจสอบจากแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้ดำเนินการสอนมาแล้ว หรือก่อน ลงมือสอนในภาคเรียนถัดไป เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป อีกประการหนึ่งควรตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้และพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เป็นรายหน่วยอย่างน้อยหนึ่งหน่วยย่อย เพราะถ้าไม่กระทำเช่นนั้นแล้วการตรวจสอบจะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ถ้าหากการตรวจสอบครบถ้วนสมบูรณ์ในหนึ่งหน่วยการเรียนรู้ก็จะประเมิน ได้ว่า การเตรียมการจัดการเรียนรู้พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนคนนั้นมีความสมบูรณ์ครบถ้วนและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามหลักการและทฤษฎีของการปฏิบัติการเรียนรู้บรรณานุกรมกาญจนา วัฒายุ, ดร. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. นครปฐม : สถาบันพัฒนาผู้บริหาร การศึกษา, 2547.คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. ชุดฝึกอบรมด้วยตนเองการพัฒนาการเรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพัฒนาระบบบริหาร, 2546.คณะกรรมการข้าราชการครู, สำนักงาน. หลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการครูให้ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เสมารวม, 2545.ทิศนา แขมมณีและคณะ. เมนูจานเด็ด แผนการจัดการเรียนรู้คัดสรร. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์พัฒนาวิชาการ (พ.ว.), 2548.ธัญญา บินโหรน. รายงานการวิจัยเรื่องการใช้นวัตกรรมการนิเทศที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสอนและผลสัมฤทธิ์ของครูที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยโครงงานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6. สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอนาทวี. 2543. อัดสำเนาวิชาการ, กรม. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในหลักสูตรและการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ.), 2545.วัฒนาพร ระงับทุกข์. ดร. แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. ม.ป.ท., 2542. อัดสำเนา.ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 และโลกดาราศาสตร์และอวกาศ ช่วงชั้นที่ 4. กรุงเทพมหานคร : สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษา, 2548. อัดสำเนา.
Prev: การจัดการความรู้ " โมเดลหัวปลาทู"Next: แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ม.2 เรื่อง อาหารและสารอาหาร

mercredi 5 août 2009

ระยะห่างของดาวฤกษ์

ระยะห่างของดาวฤกษ์

กำเนิดระบบสุริยะ

ดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์ 2

ชีวิตของดาวฤกษ์



ชีวิตของดาวฤกษ์


ดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์-แหล่งกำเนิดพลังที่ยิ่งใหญ่ และสำคัญที่สุดของโลก และทุกสรรพสิ่ง บนโลก กล่าวได้ว่า ดวงอาทิตย์เป็น ผู้ให้ชีวิตแก่โลก ดวงอาทิตย์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1,392,000 กิโลเมตร ยาวเป็น 109 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางโลก ผิวของดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิราว 6,000 เคลวิน ขณะที่ใจกลางดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิสูงมากถึง 15,000,000 เคลวินพลังงานจากดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ปล่อยพลังงานออกมาจำนวน 386,000,000,000,000,000,000,000,000 วัตต์ พลังงานที่ ดวงอาทิตย์ปล่อยมา ได้แก่ อนุภาคพลังงานสูง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทุกช่วงคลื่นได้แก่ รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ รังสีอัลตร้าไวโอเลต แสงสว่าง รังสีอินฟราเรด และคลื่นวิทยุ ดวงอาทิตย์ปล่อยพลังงานออกมา รอบตัวทุกทิศทาง มีพลังงานเพียงส่วนน้อย ที่พุ่งตรงมายังโลกของเรา บรรยากาศช่วยป้องกันโลก บรรยากาศโลกช่วยกักกั้น และดูดกลืนพลังงานที่มา จากอวกาศส่วนใหญ่ไว้ มีแสงสว่าง รังสีอัลตร้าไวโอเลต บางส่วน รังสีอินฟราเรดบางส่วนและคลื่นวิทยุรวมทั้งอุกกาบาตบางส่วน ที่ผ่านบรรยากาศเคลื่อนที่มาถึงพื้นโลก โครงสร้างของดวงอาทิตย์


1.ใจกลางดวง(Core)อุณหภูมิประมาณ 15,000,000 เคลวิน เกิดปฏิกิริยายาเทอร์โมนิวเคลียร์ เป็นแหล่งสร้าง พลังงานของดวงอาทิตย์


2.ชั้นแผ่รังสี (Radiation Zone) พลังงานจากใจกลางดวงแผ่รังสีออกสู่ด้านนอก


3.ชั้นพาพลังงาน (Convection Zone)

เป็นชั้นที่มวลสาร ของดวงอาทิตย์รับพลังงาน จากชั้นแผ่รังสีพาออก สู่ผิวดวงปรากฏสว่างจ้าในบรรยากาศชั้นโฟโตสเฟียร์ บรรยากาศของดวงอาทิตย์ 1.โฟโตสเฟียร์(Photosphere) ชั้นแสงจ้าผิวของดวงอาทิตย์อุณหภูมิราว 6,000 เคลวิน เป็นชั้นบาง ๆ ทึบแสง ลึกลงไป คือ ตัวดวงอาทิตย์ไม่สามารถมองเห็นได้พลังงาน จากภายในดวงเคลื่อนออกสู่ภายนอกที่บรรยากาศชั้นนี้


2.โครโมสเฟียร์ (Chromosphere) ชั้นแสงสี เป็นชั้นบาง ๆ สูงจากชั้นแสงจ้า เกิดพวยก๊าซปรากฏ ที่ขอบดวงเห็นได้ ขณะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง


3.โคโรน่า(Corona) บรรยากาศชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์มีรูปร่างเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา สัมพันธ์กับ ปรากฏการณ์ ที่ผิวดวง วิวัฒนาการของดวงอาทิตย์ ปัจจุบัน ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง (Type G) อุณหภูมิผิวราว 6000 เคลวิน มีอายุราว 5000ล้านปี อยู่ในช่วงกึ่งกลางชีวิต ประมาณว่าดวงอาทิตย์คงมีอายุราว 10000 ล้านปี ซึ่งเป็นชีวิตโดยเฉลี่ยของดาวฤกษ์ เมื่อราว 5000 ล้านปีมาแล้วกลุ่มฝุ่นก๊าซ ขนาดใหญ่ (เนบิวลา) ได้ยุบตัว เกิดเป็นดาวฤกษ์มีการเปลี่ยนแปลง ในช่วงเวลาไม่มากนักจนดาวฤกษ์อยู่ในสภาพสมดุลยเป็นดวงอาทิตย์ ซึ่งจะอยู่ในสมดุลย์ นานกว่า 8000 ล้านปี คือเกือบตลอดชีวิตของ ดวงอาทิตย์ ช่วงปลายชีวิต ดวงอาทิตย์จะขยายตัว มีขนาดใหญ่กลายเป็น ดาวยักษ์แดง ใช้พลังงานหมดเปลืองอย่างรวดเร็ว จากนั้นเกิดการระเบิดเป็นโนวา(Nova) มวลด้านนอก กระจายออกเป็น เนบิวลา (ซึ่งจะไปรวมตัวกัน เพื่อเกิดเป็นดาวฤกษ์รุ่นต่อไป) มวลที่ศูนย์กลาง จะถูกแรงอัดกลายเป็น ดาวแคระขาว (White Dwarf) ซึ่งจะเย็นลงช้า ๆ มีแสง ริบหรี่ลง ตามลำดับจนมองไม่เห็นในที่สุด จบชีวิต การเป็นดาวฤกษ์ ของดวงอาทิตย์ ชนิดของดาวฤกษ์ ( แบ่งตามสีและอุณหภูมิผิว ) เมื่อนำแสงของดาวฤกษ์มาวิเคราะห์ สามารถแบ่งชนิดของดาวฤกษ์ตามสีและอุณหภูมิผิวได้เป็น 7 แบบหลัก ๆ คือแบบ O B A F G K และ M ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์แบบ G มีสีเหลือง อุณหภูมิผิวราว 6,000 เคลวิน แผนผังเฮิรตซ-รัสเซล(Hertzsprung-Russell Diagram) แต่ละจุด มาจากข้อมูล ของดาวฤกษ์แต่ละดวง ด้วยการนำสี ความสว่างและอุณหภูมิผิวของดาวมาสัมพันธ์กัน ดาวฤกษ์จะแยกชนิด และรวมกันเป็นกลุ่ม ตามขนาดและความสว่างของดาว ชนิดที่สำคัญได้แก่ ดาวยักษ์ใหญ่ (Super Giant stars) ดาวยักษ์ (Giant stars) ดาวสามัญ(Main sequence stars) และดาวแคระขาว(White dwarf stars) เป็นต้น ดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวสามัญ ตัวอย่างของดาวฤกษ์บางดวงในแผนผังเฮิรตซปรุง-รัสเซล ดาวที่อยู่ ในกลุ่ม ของดาวสามัญ คือดาวที่อยู่ในสภาพสมดุลย ซึ่งเป็นช่วงที่ ยาวนานที่สุด ของชีวิต ดาวฤกษ์ ที่กำลัง เข้าใกล้จุดจบของชีวิต วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ เมื่อเนบิวลาเกิดการยุบตัวจนศูนย์กลาง มีอุณหภูมิสูงมากเกิดปฏิกริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ ปล่อยพลังงานมหาศาล ออกมาต่อต้านการยุบตัว เมื่อแรงทั้งสองเท่ากัน ดาวฤกษ์อยู่ในสภาพสมดุลย เป็นดาวฤกษ์ ในกลุ่มของดาวสามัญ ซึ่งเป็นช่วงยาวนานที่สุดของชีวิต แต่จุดจบของดาวฤกษ์ จะแตกต่างกันขึ้นกับขนาดและมวลของดาวฤกษ์ดวงนั้นดาวฤกษ์ที่มีมวลพอ ๆ กับดวงอาทิตย์จะขยายตัวเป็นดาวยักษ์แดง เกิดระเบิดเป็นโนว่า มวลที่ศูนย์กลาง จะถูกอัดแน่น เป็นดาวแคระขาวค่อย ๆ มีแสงริบหรี่ลง... จนมองไม่เห็น จบชีวิตการเป็นดาวฤกษ์ไปอย่างสงบ ดาวฤกษ์ที่มีมวล มากกว่าดวงอาทิตย์จะขยายตัวเป็นดาวยักษ์ใหญ่ เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง เป็นซุปเปอร์โนว่า มวลที่ศูนย์กลาง ถูกแรงอัดมหาศาล เป็นดาวนิวตรอน (Neutron star) ซึ่งเป็นดาวที่มีขนาดเล็กมาก มีมวลและความหนาแน่น สูง มากหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วปล่อยคลื่นวิทยุออกมาเป็นช่วง ๆ เรียกว่า พัลซ่าร์ (Pulsar) และถ้าดาวมีมวล มากกว่าดวงอาทิตย์มาก ๆ หลังการระเบิดรุนแรงเป็นซุปเปอร์โนว่า จะมีแรงอัดรุนแรง มหาศาลยิ่งอัดมวล ให้มี ขนาดเล็กลง ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จึงมีแรงโน้มถ่วงมหาศาล ดูดได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งแสง เรียกว่า หลุมดำ (Black Hole)

mercredi 29 juillet 2009

ดาวฤกษ์

ดาวฤกษ์


ดาวฤกษ์ : คล้ายกับอะไรมีวิวัฒนาการอย่างไร (Stars : what they are like and how they evolve )
ดาวฤกษ์ เป็นมวลก๊าซที่ลุกโชติช่วง ( incandescent gas ) และกระจายอยู่ทั่วทั้งเอกภพในระยะที่ห่างกันพอได้สมดุลพอดี เราอาจจุเห็นดาวฤกษ์หลายดวงอยู่กันเป็นกลุ่มในท้องฟ้ายามราตรีในรูปของจุดแสงเล็กๆ บางดวงก็มีแสงสุกใสสว่างกว่าดวงอื่น ๆ แต่นั้นก็เป็นเพียงรูปโฉมภายนอกเท่านั้น ทั้งนี้เพราะความสว่างที่เห็นนั้นขึ้นอยู่กับระยะทางที่ดาวฤกษ์ดวงนั้นๆ อยู่ห่างจากโลก อายุขัยของดาวฤกษ์แต่ละดวงไม่เท่ากัน ทว่ามันก่อเกิดขึ้น เติบโต และดับไปในที่สุดเหมือนๆกัน ดาวฤกษ์บางดวง เช่น ดวงอาทิตย์ มีดาวบริวารที่เรียกว่า ดาวเคราะห์ ( planet ) หลายดวงซึ่งแต่ละดวงหมุนรอบตัวเองและโคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ดวงนั้นๆ
ความสว่างกับขนาด (BRIGHTNESS AND SIZE) เมื่อเราดูดาวฤกษ์ในตอนกลางคืน จะเห็นว่าบางดวงมีแสงสว่างกว่าดวงอื่น ๆ แต่นั้นเป็นสิ่งที่เราเห็นภายนอกเท่านั้น แท้ที่จริงความสว่าง (brightness) ที่เราเห็นขึ้นอยู่กับขนาด (size) ที่มีมาแต่ดั้งเดิมของดาวฤกษ์ดวงนั้น ๆ และขึ้นอยู่กับว่ามันอยู่ไกลจากเราเท่าใดด้วย ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นดาวฤกษ์ดวงที่มีขนาดใหญ่มากและมีแสงสุกใสสว่างมากกลับมีความสว่างน้อยกว่าที่ควรจะเห็น และเห็นดาวฤกษ์ดวงที่มีขนาดเล็กและมีแสงไม่สุกใสสว่างมากนักแต่อยู่ใกล้เรามากกว่ากลับมีความสว่างมาก ทำให้ต้องมีการกำหนดขนาดที่ปรากฏ (apparent size – ความสว่างที่เห็น ) กับขนาดสัมบูรณ์ ( absolute size - ขนาดจริง ) ของดาวฤกษ์แต่ละดวงนั้น
สีของดาวฤกษ์ (THE COLOR OF STARS ) ถ้าเราดูให้ดีแล้วจะเห็นว่าดาวฤกษ์แต่ละดวงนั้นมีสีไม่เหมือนกันแต่เดิมนั้นมีการจำแนกสีดาวฤกษ์ออกเป็น 4 ประเภท คือ แดง ส้ม เหลือง และขาว แต่ละสีแทน อุณหภูมิของดาวฤกษ์ สีขาวแทนดาวฤกษ์ที่ร้อนจัดที่สุด ส่วนสีแดงแทนดาวฤกษ์ที่ร้อนน้อยที่สุด การให้สีอย่างนี้ก็คล้ายกับสีของชิ้นเหล็กที่กำลังถูกไฟเผา ในตอนแรกมันจะร้อนแดงก่อน ต่อมาเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นสีของมันก็จะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นสีขาวแกมน้ำเงินในที่สุด แต่นักดาราศาสตร์ปัจจุบันได้จำแนกสีของดาวฤกษ์ตามอุณหภูมิของมันเป็น 7 ประเภทใหญ่ๆ
ประเภทของดาวฤกษ์ตามสี (Type of star on their color)

ประเภท สี อุณหภูมิ ( ํ F)
O น้ำเงิน - ม่วง 50,000 - 90,000

B น้ำเงิน - ขาว 18,000 - 50,000

A ขาว 13,500 - 18,000

F ขาว - เหลือง 10,800 - 13,500

G เหลือง 9,000 - 10,800

K ส้ม 6,300 - 9,000

M แดง 4,500 - 6,300


การก่อเกิดขึ้นของดาวฤกษ์ (THE BIRTH OF A STAR) ในอวกาศเต็มไปด้วยอนุภาพจิ๋วๆ ของ อะตอมและสสารต่าง ๆ (atoms and matter ) แพร่กระจายอยู่ทั่วไปเหมือนฝุ่นผงธุลีที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ ในที่บางแห่งอาจมีเพียง 3 อะตอม ต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร แต่ในบางแห่งอาจมีเนื้อสารมากพอที่จะก่อให้เกิดการรวมตัวควบแน่นกันขึ้น ณ จุดจุดหนึ่งอย่างช้า ๆ ดาวฤกษ์ก่อเกิดขึ้นจากการที่ธุลีที่ล่องลอยอยู่นั้นจับตัวกันขึ้นเป็นกลุ่มก้อนเท่าปลายเข็มก่อน ต่อมาเมื่อมีธุลีจับตัวกันทำให้มีมวลเพิ่มมากขึ้นจนได้ขนาด ภายในดาวฤกษ์ดวงนั้นก็จะเริ่มร้อนขึ้นๆ ซึ่งอาจจะร้อนขึ้นได้เป็นหลายล้านองศา พอถึงจุดนี้ดาวฤกษ์ดวงนั้นก็เริ่มเปล่งแสง ซึ่งเราเรียกได้ว่าดาวฤกษ์ดวงนั้นได้ก่อเกิดขึ้นแล้ว
การเติบโตและการดับ (GROWTH AND DEATH) ใจกลางของดาวฤกษ์กอปรด้วยไฮโดรเจนเป็นส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ทำให้มันลุกโชติช่วงอยู่ได้ เมื่อไฮโดรเจน (hydrogen) หมดสิ้น ดาวฤกษ์ดวงนั้นก็เริ่มเสื่อมลง โดยมันจะเริ่มหดตัวลงและพันธะระหว่างอะตอมต่าง ๆ ก็สลายลงด้วย ดาวฤกษ์ดวงนั้นก็จะมีสภาพเหมือน “ซุปอิเล็กตรอน” ( electron soup) ที่มีแต่นิวเคลียสของอะตอมชนิดต่าง ๆ พอถึงช่วงนี้ดาวฤกษ์ดวงนั้นก็ยังเปล่งแสงอยู่แต่จะเริ่มเย็นลง ในระยะนี้มันจะให้ฮีเลียม(ซึ่งมีอยู่น้อยกว่ามาก) เป็นเชื้อเพลิง เมื่อถึงวาระสุดท้ายมันก็จะ “ระเบิด” และเปล่งแสงออกมาอีกครั้งก่อนที่จะแตกเป็นอนุภาคและเศษเล็กเศษน้อยกลายเป็นกลุ่มเมฆของสสารระหว่างดวงดาวคล้ายกับควันที่เกิดขึ้นหลังการระเบิด
ดาวฤกษ์ : จากโรงงานธาตุสู่หลุมดำ ( Stars : from elecment factories to black holes) มีปรากฏการณ์ที่สำคัญมากต่อเอกภพโดยรวมเกิดขึ้นหลายอย่างภายในดาวฤกษ์ อันนี้รวมถึงการสร้างธาตุต่าง ๆ ทางเคมี ( chemiscal elecments ) ที่ก่อให้เกิดสสารขึ้น - หรืออีกนัยหนึ่งคือ การหลอมนิวเคลียส และดาวฤกษ์ยังเป็นแหล่งก่อเกิดปรากฏการณ์ในเอกภาพที่ลึกลับและน่าหวั่นกลัวเป็นอย่างยิ่งอีกอย่างหนึ่งด้วยนั้นคือ หลุมดำ
ธาตุต่างๆ ทางเคมีดาวเคราะห์ หินต่าง ๆ อากาศ และสิ่งมีชีวิตทั้งปวงล้วนกอปรขึ้นด้วยธาตุต่าง ๆทางเคมี ธาตุบางธาตุพบได้ในสภาพอิสระ เช่นธาตุออกซิเจน (มีอะตอมของออกซิเจน 2 อะตอมเชื่อมต่อกันอยู่) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของอากาศที่เราหายใจเข้าไป แต่มีธาตุอีกมากที่ปรากฏในสภาพที่เชื่อมต่อกันเป็นสารประกอบทางเคมี เช่น น้ำ (ซึ่งกอปรขึ้นด้วยไฮโดรเจน 2 อะตอมกับออกซิเจน 1 อะตอม) ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่มีองค์ประกอบอย่างง่ายที่สุด ถัดมาก็คือ ฮีเลียม ทั้งสองธาตุนี้เป็นธาตุที่มีอยู่เป็นจำนวนมากที่สุดในเอกภพ และเป็นธาตุที่ก่อเกิดขึ้นเป็นลำดับแรก ๆ ด้วย ส่วนธาตุอื่น ๆ ก็ล้วนก่อเกิดขึ้นภายในดาวฤกษ์ต่าง ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกับว่าเป็นโรงงานที่ผลิตธาตุต่างๆ ทางเคมีนั้นเอง
การเผาไหม้ของดาวฤกษ์ เมื่อเรามองขึ้นไปบนฟ้าเราจะเห็นดาวฤกษ์เป็นเพียงจุดขนาดจิ๋วที่มีแสง แสงดังกล่าวเป็นพลังงานที่เกิดขึ้นภายในดาวฤกษ์ด้วยกระบวนการที่เรียนกว่า การหลอมนิวเคลียส กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการหลอมรวมอะตอมตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเข้าด้วยกันเพื่อผลิตอะตอมใหม่ 1 อะตอมที่มวล ของมันมีน้ำหนักน้อยกว่าน้ำหนักรวมของอะตอมทั้งหมดที่ก่อให้เกิดอะตอมใหม่นั้นอยู่เล็กน้อย ส่วนที่หายไปเล็กน้อยนั้นก็คือเนื้อสารส่วนที่เปลี่ยนไปเป็นพลังงาน พลังงานดังกล่าวหลุดออกไปจากดาวฤกษ์ในรูปของแสงที่เรามองเห็นได้จากโลก
หลุมดำ ในเอกภพอันไกลโพ้น นักดาราศาสตร์จำนวนมากได้สังเกตการณ์พบว่ามีบางบริเวณที่พวกเขาใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดูแล้วไม่เห็นว่ามีสิ่งใดปรากฏขึ้นบนจอภาพเลย แต่จากการคำนวณกลับชี้ว่าต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่ในบริเวณนั้นอย่างแน่นอน และเพราะการที่ไม่มีภาพใดปรากฏบนจอภาพนี้เองนักวิทยาศาสตร์จึงได้เรียกบริเวณนั้นว่าหลุมดำ หลุมดำทั้งหลายเป็นที่ที่ลึกลับแต่จากการศึกษากันอย่างกว้างขวางพบว่าในบริเวณนั้นมีดาวฤกษ์โปรตอน อยู่หลายดวงซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่มีความหนาแน่นมากจนกระทั่งแรงโน้มถ่วงของมันสามารถดึงดูดพลังงานทุกชนิดไว้ได้ แม้กระทั่งแสงก็ไม่สามารถจะหลุดออกมาได้เลย
ประเภทของดาวฤกษ์ แม้ว่าในทางทฤษฎี ดาวฤกษ์ต่าง ๆ ก็ล้วนแต่เหมือน ๆ กันทั้งนั้น แต่สิ่งที่ทำให้มันดูต่างกันก็คืออายุ ขนาด และวิวัฒนาการ ดังนั้น จึงสามารถจัดเป็นประเภท ๆ ได้ตามที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นจะสามารถสังเกตการณ์ดาวฤกษ์ต่าง ๆ เหล่านั้นได้ด้วยการใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก ประเภทของดาวฤกษ์ที่สำคัญ ได้แก่ ดับเบิลสตาร์ แวริเบิลสตาร์ โนวา ซูเปอร์โนวา พัลซาร์ และ ควาซาร์
ดับเบิลสตาร์ มีอยู่หลายแห่งในอวกาศที่มีดาวฤกษ์ซึ่งต่างผลัดกันโคจรรอบกันและกันเป็นคู่แฝดโดยมีศูนย์กลางของความถ่วงเดียวกัน ดาวฤกษ์ที่มีลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ดับเบิลสตาร์ ดาวฤกษ์คู่แฝดเหล่านี้ก่อเกิดมาจากมวลของสสารในอวกาศกลุ่มเดียวกันด้วยการควบแน่นแล้วแยกออกเป็นดาวฤกษ์ 2 ดวง
แวริเบิลสตาร์ มีดาวฤกษ์หลายดวงที่มีแสงไม่คงที่ โดยระดับแสงจะเปลี่ยนไปเป็นช่วง ๆ แต่ละช่วงอาจสั้นแค่ 2-3 เดือน หรืออาจนานเป็นหลาย ๆ ปีก็ได้ ดาวฤกษ์ประเภทนี้เรียกว่า แวริเบิลสตาร์ ซึ่งความสว่างไม่คงที่เป็นช่วงเวลาที่ไม่เท่ากันของดาวฤกษ์ประเภทนี้เกิดขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างภายในดวงดาวนั้นเอง ต่างจากความสว่างไม่คงที่ของดาวฤกษ์ประเภทที่ต่างผลัดกันโคจรรอบกันและกันแล้วทำให้เกิดเงามืดทับกันและกันเป็นช่วงเวลาที่สม่ำเสมอซึ่งมองเห็นได้จากโลก
โนวา ในดาวฤกษ์ที่อยู่กันเป็นคู่ ระหว่างดาวแคระแดง ดวงหนึ่ง กับดาวยักษ์ขาว อีกดวงหนึ่งนั้น ในบางครั้งแรงดึงดูดที่แรงจัดของดาวแคระแดงได้ดึงเอาไฮโดรเจนมาจากดาวยักษ์ขาว ซึ่งเชื้อเพลิงส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้จะลุกไหม้ทำให้เกิดแสงสว่างจัดจ้าววูบขึ้นเป็นเวลาหลายชั่วโมง ดาวแคระแดงที่เกิดแสงสว่างจัดจ้าวูบขึ้นนี้เรียกว่า โนวา
ซูเปอร์โนวา ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ดาวฤกษ์ต่าง ๆ จะมีสีแดง ดาวฤกษ์ยักษ์ จะระเบิดขึ้นอย่างน่าระทึกใจ และมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมหลายพันเท่า การระเบิดนี้เป็นผลจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในดาวฤกษ์ดวงนั้น เมื่อดาวฤกษ์ดวงนั้นใช้ไฮโดรเจนที่มีอยู่หมดลงและมีธาตุใหม่ที่หนักกว่าเกิดขึ้น มวลที่ใหญ่โตเหลือล้นนั้นทำให้เกิดการระเบิดขึ้นภายในตัวมันเองก่อนแล้วทำให้เกิดการระเบิดออกภายนอกตามมา ส่งผลให้สสารของมันพุ่งกระจายออกสู่อวกาศด้วยความเร็วเหลือที่จะพรรณนาได้
พัลซาร์ เป็นดาวฤกษ์นิวตรอนที่ก่อเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดชีวิตของดาวฤกษ์ยักษ์หลังการระเบิด ดาวฤกษ์ประเภทพัลซาร์หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูง (ถึง 600 รอบต่อวินาที)และสนามแม่เหล็กของมันก็ให้กระแสคลื่นแม่หล็กไฟฟ้าที่มีกำลังสูงมาก ซึ่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้จะมาถึงโลกเป็นช่วงๆ ในจังหวะที่เท่าๆ กัน และเนื่องจากมีการส่งกระแสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเป็นช่วงๆ นี้เองจึงได้ชื่อว่าพัลซาร์
ควาซาร์ ควาซาร์ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในช่วงคริสต์ศักราช 1960-1969 ดาวฤกษ์ประเภทนี้เป็นแหล่งที่แผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้เป็นระยะทางไกลมาก เชื่อกันว่ามันเป็นเทห์ที่อยู่ไกลสุดและหมุนด้วยความเร็วราว 153,000 ไมล์ต่อวินาที ควาซาร์อาจจะเป็นแกนของกาแล็กซีใหม่ที่กำลังก่อตัวอยู่หรืออาจจะเป็นศูนย์กลางของหลุมดำก็ได้

หมู่ดาวฤกษ์และหมู่เนบิวลา (STAR CLUSTERS AND NEBULAE) ในอวกาศเต็มไปด้วยสสารกระจายกันอยู่ ไกลกันบ้างใกล้กันบ้าง ดาวเคราะห์และดาวฤกษ์น้อยใหญ่ต่างก่อเกิดมาจากสสารระหว่างดวงดาวเหล่านั้นซึ่งจับกลุ่มกันเป็นเนบิวลาจำนวนมาก หลังจากที่ดาวฤกษ์ต่างๆ ได้ก่อเกิดขึ้นแล้วพบว่าดาวฤกษ์เหล่านั้นเกือบจะไม่อยู่โดดเดี่ยวเลย แต่จะอยู่กันเป็นหมู่ๆ หมู่ละมากดวงบ้างน้อยดวงบ้าง มองจากโลกจะเห็นสสารระหว่างดวงดาว และกลุ่มของดาวฤกษ์เหล่านี้ดูคล้ายกับเป็นหมู่เมฆหลากสีสันที่กระจัดกระจายกันอยู่
หมู่ดาวฤกษ์ พบว่าดาวฤกษ์จะไม่อยู่เดี่ยวๆ แต่จะอยู่กันเป็นหมู่ๆ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าดาวฤกษ์เหล่านั้นก่อเกิดมาจากมวลของสสารระหว่างดวงดาวกลุ่มเดียวกันที่เกิดจากการควบแน่นเป็นแท่งๆ ทำให้ขาดออกจากกันเป็นลูกๆ และในที่สุดก็เป็นดาวฤกษ์หลายดวงขึ้นมา ดาวฤกษ์ทุกดวงในหมู่เดียวกันจะมีอายุใกล้เคียงกันมากจนเกือบจะเท่ากันและโคจรไปในห้วงอวกาศด้วยความเร็วที่เท่ากัน หมู่ดาวฤกษ์มี 2 ประเภท ประเภทหนึ่งเป็นหมู่ดาวฤกษ์ที่ก่อเกิดมาจากการรวมหมู่ดาวฤกษ์น้อยใหญ่เข้าด้วยกันแต่ดาวฤกษ์เหล่านั้นยังอยู่กันห่างๆ พวกนี้เรียกว่า หมู่ดาวเปิด ส่วนอีกประเภทหนึ่งก่อเกิดมาจากการรวมหมู่ดาวฤกษ์น้อยใหญ่นับพันๆ ดวงเข้าด้วยกัน แต่ดาวเหล่นนั้นอยู่ชิดกันมากจนเกิดเป็นหมู่ดาวรูปทรงกลมขึ้น พวกนี้เรียกว่า หมู่ดาวทรงกลม
พไลอะดีส (Pleiades) เป็นหนึ่งในหมู่ดาวที่มีชื่อเสียง อยู่ในกลุ่มดาวทอรัส (Taurus)
หมู่เนบิวลา โครงสร้างของหมู่เนบิวลาเป็นหมู่เมฆของก๊าซ และธุลีระหว่างดวงดาวที่อาจจะมองเห็นหรือมองไม่เห็นจากโลก ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของมัน เนบิวลาบางหมู่มีแสงให้เห็นเพราะดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ทำให้มันอุ่นขึ้น บางหมู่ก็เป็นเพียงกลุ่มก๊าซดำมืดซึ่งไม่สามารถจะมองเห็นมันได้เช่นเดียวกับธุลีระหว่างดวงดาวที่มองไม่เห็นเพราะมันดูดซับแสงเอาไว้ แต่เราก็อนุมานได้ว่ามีเนบิวลาอยู่ตรงนั้นตรงนี้เมื่อมันเคลื่อนที่เข้าบังเทห์บางอย่างที่อยู่ในอวกาศไว้ ซึ่งเป็นเทห์ที่เรารู้ด้วยวิธีหนึ่งวิธีใดมาก่อนแล้วว่ามีอยู่จริง
ไตรฟิดเนบิวลา (Trifid nebula) ในกลุ่มดาวซาจิททาเรียส (Sagittarius)
เนบิวลาที่มีแสงสว่างสุกใสในกลุ่มดาวโอเรียน (Orion)
หมู่เนบิวลาเป็นวัตถุดิบที่เหลือจากการก่อให้เกิดดาวฤกษ์ต่าง ๆ มาแล้ว สีของหมู่เนบิวลาจะเปลี่ยนไปตามระดับของอุณหภูมิ

โลก

โลก







โลก (Earth)
โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรซึ่งใช้เวลา 365.25 วัน เพื่อให้ครบ 1 รอบ ปฏิทินแต่ละปีมี 365 วัน ซึ่งหมายความว่าจะมี 1/4 ของวันที่เหลือในแต่ละปี ซึ่งทุกๆปีสี่ปีจะมีวันพิเศษ คือจะมี 366 วัน กล่าวคือเดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันเหมือนปกติ ตามที่เคปเลอร์ค้นพบวงโคจรของโลกไม่เป็นวงกลม ในเดือนธันวาคมมันจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเดือนมิถุนายน ซึ่งมันจะอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด โลกจะเอียงไปตามเส้นแกน ในเดือนมิถุนายน ซีกโลกเหนือจะเอียงไปทางดวงอาทิตย์ดังนั้น ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูร้อนและซีกโลกใต้จะเป็นฤดูหนาว ในเดือนธันวาคมจะเอียงจากดวงอาทิตย์ ทำให้ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวและซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน ในเดือนมีนาคมและกันยายน ซีกโลกทั้งสองไม่เอียงไปยังดวงอาทิตย์ กลางวันและกลางคืนจึงมีความยาวเท่ากัน ในเดือนมีนาคม ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้เป็นฤดูใบไม้ร่วง ในเดือนกันยายน สถานการณ์จะกลับกัน โลกมีอายุประมาณ 4,700 ปี โลกไม่ได้มีรูปร่างกลมโดยสิ้นเชิง เส้นรอบวงที่เส้นศูนย์สูตรยาว 40,077 กิโลเมตร (24,903 ไมล์)และที่ขั่วโลกยาว 40,009 กิโลเมตร (24,861 ไมล์)

ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ จะมีฤดูกาลเป็นของตนเองและระยะของการโคจร ความยาวของปีดาวเคราะห์เป็นเวลาที่มันหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ ถ้าคุณอยู่บนดาวพุธ ปีของคุณจะมีเพียง 88 วันของโลก บนดาวพูลโต ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่นอกสุดหนึ่งปีจะเท่ากับ 248 วันบนโลก
ดวงจันทร์ ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลก โคจรรอบโลกทุกๆ 27 วัน 8 ชั่งโมง และขณะเดียวกันก็หมุนรอบแกนตัวเองได้ครบหนึ่งรอบพอดีด้วย ทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์ด้านเดียว ไม่ว่าจะมองจากส่วนไหนของโลก ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง มนุษย์เพิ่งจะได้เห็นภาพ เมื่อสามารถส่งยานอวกาศไปในอวกาศได้ บนพื้นผิวดวงจันทร์ร้อนมากในบริเวณที่ถูกแสงอาทิตย์ และเย็นจัดในวริเวณเงามืด ที่พื้นผิวของดวงจันทร์มีปล่องหลุมมากมาย เป็นหมื่นๆหลุม ตั้งแต่หลุมเล็กไปจนถึงหลุมใหญ่มีภูเขาไฟและทะเลทรายแห้งแล้ง ดวงจันทร์เป็นดวงดาวใหญ่ที่สุด และสว่างที่สุดในท้องฟ้ากลางคืน ดวงจันทร์ส่องแสง แต่แสงที่ส่องนั้นมิได้เปล่งออกมาจากดวงจันทร์เอง ดวงจันทร์เมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ก็จะสะท้อนแสงนั้นออกมา ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุด แต่ก็ยังเป็นระยะทางไกลมากคือ ระยะสิบเท่าของเส้นรอบโลกยังสั้นกว่าระยะทางจากโลกไปดวงจันทร์
วัฏจักรของดวงจันทร์ เราทราบแล้วว่า ถ้านับเดือนทางจันทรคติ แล้วดวงจันทร์จะโคจรรอบโลกหนึ่งรอบ กินเวลา 29 1/2 วัน ถ้าเรานับจุดเริ่มต้นของดวงจันทร์ที่วันเดือนดับ (New moon) เป็นช่วงที่ดวงจันทร์ อยู่เป็นเส้นตรงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงจันทร์ทึบแสง คนบนโลกจึงมองไม่เห็นดวงจันทร์ แล้วก็เป็นวันข้างขึ้นทีละน้อย เราจะเห็นดวงจันทร์สว่างเป็นเสี้ยวทางขอบฟ้าตะวันตก และจะเห็นดวงจันทร์ขึ้นสูงจากขอบฟ้าทิศตะวันตก ไปทางทิศตะวันออก พร้อมกับมีเสี้ยวสว่างมากขึ้น พอถึงช่วงวันขึ้น 7-8 ค่ำ ดวงจันทร์จะสว่างครึ่งซีกอยู่ตรงกลางท้องฟ้าพอดี (Quarter) วันต่อมาจะเพิ่มเสี้ยวสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งวันขึ้น 14-15 ค่ำ ดวงจันทร์จะมาอยู่ตรงเส้น ระหว่างดวงอาทิตย์และโลก ทำให้ดวงจันทร์เกิดสว่างเต็มดวง (Full moon) หลังจากนั้นดวงจันทร์กลายเป็นข้างแรม ดวงจันทร์จะขึ้นช้าไปเรื่อยๆ จนหายไปในท้องฟ้าจะเห็นเดือนดับ แล้วก็เริ่มต้นใหม่ เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ การเกิดข้างขึ้นข้างแรม เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก 1 รอบ เท่ากับมันโคจรรอบตัวเอง 1 รอบพอดี ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้นเราจึงเห็นดวงจันทร์เพียงซีกเดียวตลอดเวลา

คลิบอบรมยกระดับ 4

คลิบอบรมยกระดับ 3